วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก

ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
       ใน ประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้ง หมด ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี

 ปลาดุกอุย
        สี ของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น

 ปลาดุกด้าน
      
สี ของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก

 แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย        ปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี

 ลักษณะนิสัยของปลาดุก
        ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกิน ตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน

 
อาหารปลาดุก
        อาหาร ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอาหารเพื่อการดำรงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อปลาดุกฟักไข่ออกมาเป็นตัวลูกปลาดุกจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงซึ่งติดอยู่ ด้านหน้าท้องของลูกปลา ประมาณ 1 – 2วัน ถุงไข่แดงจะยุบลง นั่นเป็นเครื่องหมายว่าอาหารที่ติดตัวลูกปลาดุกมาตั้งแต่เกิดได้ใช้หมดไป แล้ว จำเป็นต้องมีการหาอาหารจากสภาพแวดล้อมกิน ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงลูกปลาดุกจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่แดงต้มสุก ไรแดง หรืออาหารผสม ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถที่จะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ อาหารที่ให้ได้แก่ ปลาเป็ดสับบดละเอียดผสมกับรำ หรือ อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จวบจนกระทั่ง สามารถจับปลาดุกขายได้ 
        
ในธรรมชาติลูกปลาดุก กินอาหารจำพวกโปรโตซัว ไรน้ำขนาดเล็ก โรติเฟอร์ และ แพลงค์ตอนพืช ปลาดุกที่มีขนาดโตขึ้น จะกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปู หนอน และอินทรีย์สารที่อยู่ตามพื้นโคลน นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้กินอาหารสมทบทั้งประเภทจมน้ำ หรืออาหารชนิดเม็ดลอยน้ำได้ ซึ่งมีส่วนผสมของอาหารประเภทปลายข้าว รำ กากถั่ว ปลาป่น เป็นต้น

                
ปลา ดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivorous) มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ ใน บางครั้งก็ถือว่าปลาชนิดนี้เป็นพวก Scavengers เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืชหรืออาหาร จำพวกแป้ง
             อาหาร ต่างๆ เหล่านี้ ทั้งที่มีตามธรรมชาติ ทั้งที่ผสมให้กินโดยการทำเองมีสารอาหารต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องให้ปลาดุกอย่างครบถ้วน ตามที่ปลาดุกต้องการ ปลาดุกจึงเจริญเติบโตได้ดี คุณค่าทางอาหารที่ปลาดุกต้องการและจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน ชนิด คือ
            โปรตีน เป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อนำเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย ในส่วนที่สึกหรอ หรือนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ความต้องการโปรตีนของปลาดุกนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัยและเวลาที่เพิ่มขึ้น ในลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดสามารถปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้มีความต้องการโปรตีน อยู่ในช่วง 35 – 40เปอร์เซ็นต์ ส่วนในช่วงระยะเวลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาดุกมีความต้องการโปรตีน 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
             คาร์โบ ไฮเดรต สารอาหารประเภทนี้ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้บางส่วนแก่ร่างกาย ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของปลาดุกจะอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วปลาดุกจะไม่ขาดสารอาหารประเภทนี้เพราะมีอยู่ในแป้ง ปลายข้าว รำ และในข้าวโพด นอกจากนี้วัตถุดิบเหล่านี้ในอาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จะช่วยให้อาหารรวมตัวกันได้แน่นขึ้นอีกด้วย

      ไขมัน ไม่ว่าอาหารชนิดใดมักจะมีไขมันปะปนอยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานในปริมาณที่สูง บางครั้งปลาดุกที่ได้รับไขมันเป็นจำนวนมากก็จะมีโทษได้เช่นเดียวกันกับการมี ประโยชน์ของมัน ในอาหารที่ให้ปลาดุกไม่ควรจะมีไขมันในปริมาณที่มากเกิน 5 – 6เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบที่มีไขมันในปริมาณมากได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
          วิตามิน สารอาหารชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง เพราะมีส่วนช่วยให้ปลาดุกสามารถใช้สารอาหารอื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นโดยที่สารอาหารชนิดนี้เองไม่ได้มี ส่วนในการเจริญเติบโตของปลาดุกโดยตรงเลย ดังนั้นวิตามินจึงมีความจำเป็นที่ปลาดุกจะต้องได้รับตามความเหมาะสม
          แร่ ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้ำในตัวปลา แร่ธาตุมีอยู่ในสารอาหารโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
 อาหารลูกปลา
         
ไข่ แดงต้มสุก เป็นอาหารของปลาดุกในช่วงในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ ไข่ที่นำมาใช้เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ก็ได้ต้มให้สุกใช้แต่ไข่แดง โดยบี้ไข่แดงยีกับผ้าขาวบางตาละเอียดให้เม็ดเล็กที่สุด การให้ไข่แดงอย่าให้มาก เพราะเมื่อหลงเหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
       ไข่ แดง เป็นอาหารหลักของลูกปลาวัยอ่อน ช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดสูง ก่อนให้ไรแดงเป็นอาหารลูกปลาทุกๆ ครั้งต้องแช่ด้วยด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน
  อาหารปลาใหญ่
         ปลาเป็ด เมื่อเรืออวนลากออกจับปลาตามชายฝั่ง จะได้ปลาหลายๆ ขนาด ปลาขนาดเล็กที่จับได้ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมีราคาไม่แพงมากนัก ปลานี้เราเรียกว่าปลาเป็ด มีคุณค่าของสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การให้ปลาเป็ดเป็นอาหารปลาดุกมักจะสับให้ละเอียด หรือใช้เครื่องบดอาหารได้ อาหารเม็ดลอยน้ำ ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ ทางการเกษตรที่มีคุณค่าทางอาหารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดเป็นเม็ดออกมา
วัตถุ ดิบที่นิยมทำมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป จะหาซื้อได้ตามท้องถิ่นที่ได้จากพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเมล็ด กากถั่วลิสง กากมะพร้าว ส่วนวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ก็มี ปลาเป็ด ปลาป่น เลือดป่น ในการเลือกวัตถุดิบเหล่านี้ควรจะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ไม่ขึ้นรา ไม่เหม็นหืน อาหารที่ได้จึงมีคุณภาพดี เก็บไว้ใช้ได้นาน 



การเพาะเลี้ยงปลาดุก
      การเลี้ยงปลาดุก  สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน  บ่อซีเมนต์และในกระชัง  แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยในบ่อดิน  ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน  1  ไร่
การเลือกสถานที่ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา  มีดังนี้          1.  สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป  สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
          2.  สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
          3.  สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
          4.  ทางคมนาคมสะดวก
การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา
   มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้

1.  บ่อใหม่
-  ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา  60-100  กิโลกรัม/ไร่  โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
-  ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา  200  กิโลกรัม/ไร่  โดยโรยให้ทั่วบ่อ
-  เติมน้ำให้ได้ระดับ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5  วัน  จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา         
2.  บ่อเก่า          -  ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่สุด         
-  ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100  กิโลกรัม/ไร่         
-  ตากบ่อให้แห้ง  ประมาณ  7-15  วัน         
-  นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ  60-100  กิโลกรัม/ไร่  เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ         
-  เติมน้ำ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5 วัน  จนน้ำเป็นสีเขียว 
ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง  ถ้าไม่ถึง  7.5-8.5  ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง  ให้ได้  7.5-8.5
การเตรียมพันธ์ปลา

การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ  ดังนี้
          1.  แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก  ควรดูจาก
              -  ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
              -  มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์  เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
              -  มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
          2.  ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์  ซึ่งสังเกตจาก
              
-  การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว  ไม่ว่ายควงสว่าน  หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
              -  ลำตัวสมบูรณ์  หนวด  หาง  ครีบ  ไม่กร่อน  ไม่มีบาดแผล  ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
              -  ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน
การปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง           เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ  10-15  นาที  เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค  ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
อัตราการปล่อย
        เกษตรกรรายใหม่  ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว  จะทำให้อัตราการรอดสูง  อัตราการปล่อย  ปลาขนาด 2-3  เซนติเมตร  ปล่อย  80,000-100,000 ตัว/ไร่  ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง
อาหารและการให้อาหาร
         ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ  80%  เป็นค่าอาหาร  เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
การเลือกซื้ออาหาร
ลักษณะของอาหาร

          -  สีสันดี
          -  กลิ่นดี  ไม่เหม็นหืน
          -  ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ  ไม่เป็นฝุ่น
          -  การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
          -  อาหารไม่เปียกชื้น  ไม่จับตัวเป็นก้อน  ไม่ขึ้นรา


ประเภทของอาหารสำเร็จรูป          -  อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  1 – 4 เซนติเมตร
          -  อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  3  เซนติเมตร – 1  เดือน
          -  อาหารปลาดุกเล็ก  ใช้สำหรับปลาอายุ  1-3  เดือน
          -  อาหารปลาดุกใหญ่  ใช้สำหรับปลาอายุ  3  เดือน  -  ส่งตลาด
วิธีการให้อาหารปลา
               เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร  จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป  อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน  พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด  ภายในเวลา  30-60  นาที  โดยให้อาหารประมาณ  1  สัปดาห์      หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน    เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ  ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน  30  นาที  ให้กินจนลูกปลาอายุ  1  เดือน   ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่   โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้  2  มื้อ  ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ  2  เดือน  ให้อาหารปลาดุกใหญ่  ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที่ โดยให้อาหาร  2  มื้อ   ในกรณีปลาป่วย  หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ  ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ  หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ  หรือใส่เกลือ  หรือปูนขาว   ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ  3-5  กรัมต่ออาหาร  1  กิโลกรัม  ให้กินติดต่อกัน  7  วัน  เช่น  อาออกชีเตตร้าซัยคลิน    ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ  เช่นถ้าพบปลิงใส  เห็บระฆัง  เกาะจำนวนมาก  หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น  30-40  ซีซี/น้ำ  1,000  ลิตร  ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น