วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

โครงงานคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

โครงงานคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มาและความสำคัญ 

ด้วย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิด และหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่ความพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ของคนไทย สังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรมและทางด้านคุณธรรม ถ้าใช้หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ก็จะสามารถอยู่ได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ปรับตัวและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้ 
ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อก่อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข คณะผู้จัดทำจึงได้เรียนปรึกษากับคุณครูผู้สอนจัดทำโครงงานนี้ขึ้น ซึ่งในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้จัดในรูปแบบของโครงงานการประดิษฐ์ กล่าวคือเป็นการดำเนินงานตามกิจกรรมของใบงานเรื่อง การทำน้ำยาล้างจานจากพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อนำผลผลิตที่ได้และประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในโอกาสต่อไป 


โครงการปลูกผักแบบสวนผสม

โครงการปลูกผักแบบสวนผสม


หลักการและเหตุผล
                ผักแต่ละชนิดให้ผลผลิตในเวลาที่แตกต่างกัน  และให้คุณประโยชน์ในการทำอาหารต่างกัน  การปลูกผักหลายชนิดบนพื้นดินเดียวกัน โดยการจัดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม ทำให้พืชเกิดการอาศัยพึ่งพากันตามธรรมชาติ และเกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูก  ทั้งยังเกิดแหล่งอาหารเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ใต้ ดังนั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จึงได้ร่วมกันปลูกผักสวนผสมขึ้นในแปลงผักข้างโรงอาหาร ซึ่งประกอบด้วย มะละกอ แตงกวา ถั่ว ผักบุ้ง ชะอม หอม กระเพา แมงลัก ตะไคร้ คะน้า เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและใช้ในโครงการอาหารกลางวัน
 

การเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก

ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
       ใน ประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้ง หมด ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี

 ปลาดุกอุย
        สี ของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น

 ปลาดุกด้าน
      
สี ของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก

 

“ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน”

“ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน”

1. หลักการ/ที่มาและความสำคัญ
      กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดหลักคุณธรรม
นำความรู้ สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้น
เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้และอยู่ดีมีสุข
       เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์
ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
                เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันประเทศไทยประสบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
ความเป็นอยู่ของประชาชนฝืดเคืองมีภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ใช้จ่ายเงินทองอย่างฟุ่มเฟือย มัวเมา
ในอบายมุข ขาดคุณธรรมประจำใจ ทุจริตคอรัปชั่น เอารัดเอาเปรียบไม่มีความเอื้ออาทร แตกแยกความสามัคคี ไม่มีความสมานฉันท์ จนทำให้สังคมเสื่อมทรามลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้อาจเป็น
เพราะทุกคนไม่ดำรงตนให้อยู่แบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงเป็นที่มาของการล่มสลายทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
       เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว ทางโรงเรียนอนุบาลมณีราษฎร์คณาลัย จึงได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2549 จนถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจแบบพอเพียง

             เศรษฐกิจแบบพอเพียง

                           เศรษฐกิจแบบพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ "….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"